สถาบันวิจัยและพัฒนา

ยุทธศาสตร์การวิจัย : กรอบการพัฒนาระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

   

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการวิจัย บูรณาการการเรียนการสอนและการบริการวิชาการที่มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ยกระดับสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ และส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) “ นำมาสู่การดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน  ได้แก่

(1) ยุทธศาสตร์ด้านการสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ส่งผลต่อการยกระดับ SDG Ranking โดยเน้นการพัฒนาโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูงในด้าน การศึกษาคุณภาพสูง การพัฒนาชุมชนยั่งยืน และการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ทั้งนี้ ควรสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้การวิจัยนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

(2) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการบริหารจัดการแบบเชิงรุก ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์นี้มุ่งเน้นการพัฒนาและบูรณาการระบบสารสนเทศที่สามารถรวบรวมข้อมูลขององค์กรในส่วนที่เกี่ยวข้อให้สามารถสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินงานในทุกระดับของมหาวิทยาลัย  

(3) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการในสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ยุทธศาสตร์นี้เน้นการพัฒนาสถาบันวิจัยและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางวิชาการและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร การจัดการทรัพยากร และการสร้างระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อการวิจัยและนวัตกรรม สร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับสากล รวมถึงการส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่มีชื่อเสียง เพื่อสร้างชื่อเสียงและยกระดับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสู่ระดับโลก

 

 

            จากภาพที่ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัย สามารถนำยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ด้านการสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (2) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการบริหารจัดการแบบเชิงรุก และ(3) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการในสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของสถาบันวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการวิจัย บูรณาการการเรียนการสอนและการบริการวิชาการที่มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ยกระดับสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ และส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) แนวทางดำเนินงานสามารถแบ่งออกเป็นหลายด้าน สามารถนำมากำหนดกลยุทธ์การดำเนินภายใต้ตามยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้:

ยุทธศาสตร์ที่ 1: ยุทธศาสตร์ด้านการสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

        กลยุทธ์ที่ 1.1: การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการวิจัย

        กลยุทธ์ที่ 1.2: การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 2: ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการบริหารจัดการแบบเชิงรุก

        กลยุทธ์ที่ 2.1: การพัฒนาและบูรณาการระบบสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

       กลยุทธ์ที่ 2.2: การติดตามผลการดำเนินงานบริการและการประเมินผลการดำเนินงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3: ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการในสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ     

       กลยุทธ์ที่ 3.1: ยกระดับสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ

       กลยุทธ์ที่ 3.2: การส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG)

จากกลยุทธ์การวิจัยที่ได้กำหนดไว้สามารถกำหนดแนวทางการบริหารในแต่ละกลยุทธ์ได้ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยุทธศาสตร์ด้านการสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

กลยุทธ์ที่ 1.1 : การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการวิจัย

แนวทางการบริหาร

  • สนับสนุนการวิจัยที่มีคุณภาพ: ส่งเสริมการวิจัยที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระดับท้องถิ่นและระดับสากล รวมถึงการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
  • บูรณาการการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ ผสานการวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน: ส่งเสริมการนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาเนื้อหาการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานจากการวิจัย และพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้สามารถใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาที่แท้จริงในสังคม
  • พัฒนาศักยภาพนักวิจัย: จัดฝึกอบรมและสร้างระบบการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ของนักวิจัยในการดำเนินงานวิจัยและการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการระดับสากล
  • ติดตามประเมินผลหลังจากมีทำโครงการอบรมให้ความรู้

กลยุทธ์ที่ 1.2: การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

แนวทางการบริหาร

  • สนับสนุนโครงการพัฒนาท้องถิ่น: ร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชนในการพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมอาชีพ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตาม BCG โมเดล
  • สร้างความเข้มแข็งในชุมชน: ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการกับปัญหาและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
  • จัดทำกลไก การรับทุนวิจัย กับแหล่งทุนภายนอก ให้สอดคล้องและเอื้อต่อการปฏิบัติงานวิจัย โดยรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในการดําเนินงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การดําเนินงาน และการประเมินผลการดําเนินงาน
  • ติดตามประเมินผลการวิจัยตามหลักการ SROI หรือ SIA

ยุทธศาสตร์ที่ 2: ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการบริหารจัดการแบบเชิงรุก

กลยุทธ์ที่ 2.1: การพัฒนาและบูรณาการระบบสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

แนวทางการบริหาร

  • พัฒนาระบบฐานข้อมูลผลงานวิจัยและระบบสารสนเทศด้านการวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ  (ที่มีการบูรณการฐานข้อมูลความต้องการชุมชน ฐานข้อมูลนักวิจัย ฐานข้อมูลแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอก)
  • ปรับปรุงคู่มือบริหารจัดการวิจัยให้มีความชัดเจน และเป็นระบบ เพื่อช่วยให้นักวิจัยสามารนำไปใช้วางแผนการเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิผล
  • สร้างระบบสนับสนุนการติดใจในให้กับผู้บริหารทุกระดับ
  • ติดตาม และประเมินผลการใช้งานระบบ

กลยุทธ์ที่ 2.2: การติดตามผลการดำเนินงานบริการและการประเมินผลการดำเนินงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ

แนวทางการบริหาร

  • การกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและเหมาะสม (Key Performance Indicators - KPIs) และสอดคล้องกับเป้าหมายและพันธกิจของสถาบัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความสำเร็จของการดำเนินงานทั้งที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประเมินผลการดำเนินงานบริการอย่างครบถ้วน
  • การติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำระบบติดตามและรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะ เช่น รายงานรายไตรมาสหรือรายปี เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าและประสิทธิภาพของโครงการ
  • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานวิจัย และการทำรายงานผ่านระบบสารสนเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3: ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการในสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ     

กลยุทธ์ที่ 3.1: ยกระดับสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ

แนวทางการบริหาร

  • สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการและวิจัย โดยส่งเสริมการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยเน้นการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มีชื่อเสียงในระดับโลก (Scopus)
  • การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ด้วยการสร้างเครือข่ายสถาบันวิจัย หรือมหาวิทยาลัยในชั้นนำทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและบุคลากร
  • การจัดทำ MOU หรือ MOA  กับเครือข่ายที่ได้สร้างความร่วมมือไว้
  • การดำเนินการและติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมภายในภายใต้ MOU และ MOA ที่ได้ทำไว้

กลยุทธ์ที่ 3.2: การส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG)

แนวทางการบริหาร

  • ส่งเสริมการวิจัยที่ตอบสนองต่อ SDG: มุ่งเน้นการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการบรรลุ SDG โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการลดความยากจน การส่งเสริมสุขภาพ การศึกษา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการส่งผลงานการตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยระดับนานาชาติ
  • วัดและรายงานผลการดำเนินงาน โดยพัฒนาระบบการวัดและติดตามผลการดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ SDG และเผยแพร่ผลการดำเนินงานให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกอย่างโปร่งใส
  • ติดตามและประเมินผล พร้อมการรายงานผลเข้าระบบ SDG ของมหาวิทยาลัย

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร