← Back
23 กรกฎาคม 2558
การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6
“ราชภัฏ ราชภักดิ์:สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน”
(6th Rajabhat University National and International & Academic Conference : RUNIRAC VI) ระหว่างวันที่ 17 – 18 สิงหาคม 2563
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏวิจัยครั้งที่ ๖ “ราชภัฏ ราชภักดิ์:สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน” (6th Rajabhat University National and International & Academic Conference : RUNIRAC VI)” โดยในครั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษมเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน ตามมติที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ร่วมด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศทั้ง ๓๗ แห่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ส่งเสริม และเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมของอาจารย์ บุคลากร และ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่สาธารณชน ๒) เป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงการวิจัยของไทยที่มีศักยภาพนำไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์ทั้งเชิง วิชาการ เชิงนโยบาย เชิงสังคมและชุมชน ในระดับประเทศและต่างประเทศ และ ๓) เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อเชิดชู และยก ย่องนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ
กิจกรรมในงานประกอบด้วย
๑. ประชุมวิชาการ การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติและนานาชาติ
๒. การนำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย และในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) แบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ตามยุทธศาสตร์ราชภัฏ ๒๐ ปีมีผลงานวิจัยจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ร่วมนำเสนอ จำนวน ๖ บทความ ในแบบออนไลน์
การนำเสนอบทความวิจัยระดับชาติ จำนวน ๔ บทความ ดังนี้
๑) การพัฒนานักสื่อสารงานวิจัยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
โดย ผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม สังกัดคณะวิทยาการจัดการ
๒) การออกแบบและพัฒนาเครื่องอัดแท่งผักตบชวา
โดย รศ.ดร.วรนุช แจ้งสว่าง สังกัดคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
๓) การใช้พลังงานจากแก๊สชีมวลในการอัดแท่งผักตบชวา
โดย รศ.ดร.วรนุช แจ้งสว่าง สังกัดคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
๔) การตัดสินใจของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ เขตบางเขน
กรุงเทพมหานคร
โดย อาจารย์กานต์ณัฏฐา เนื่องหนุน ผศ.อังคณา จารุพินทุโสภณ และน.ส.ฝนทิพย์ หอมรื่น
สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การนำเสนอบทความวิจัยระดับนานาชาติ จำนวน ๒ บทความ ดังนี้
- The Development of Professional Development Model on Constructionism with
Local Wisdom based Learning Management for Preservice Teachers
โดย อาจารย์ศศิธร โสภารัตน์ สังกัดวิทยาลัยการฝึกหัดครู
(ได้รับรางวัลการนำเสนอบทความดีเด่น ระดับนานาชาติ ภาคบรรยาย)
๒) The Pre-Service General Science Students’ Thoughts on Educational Philosophy at
College of Teacher Education, Phanakorn Rajabhat University
โดย อาจารย์ ดร.อภิชาติ พยัคฆิน สังกัดวิทยาลัยการฝึกหัดครู
๓. การมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่น และรางวัลนักวิจัยดีเด่นจากชุมชน
- นักวิจัยดีเด่น คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อะเคื้อ กุลประสูติดิลก สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- นักวิจัยจากชุมชนดีเด่น คือ นางจินตนา สีเมฆ